The Role of ERP in Supply Chain Management

บทบาทของ ERP ในการจัดการซัพพลายเชน

การจัดการซัพพลายเชนถือเป็นหนึ่งปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ผู้ผลิตส่วนใหญ่อาจเจอปัญหา หากไม่มีพาร์ทเนอร์หรือเวนเดอร์ที่ช่วยจัดหาวัตถุดิบและทรัพยากรที่เหมาะสมให้ เพื่อให้การผลิตดำเนินไปตามกำหนดการ อย่างไรก็ตาม จากรายงานสถานะการผลิตปี 2564 ระบุว่า “97% ของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นพนักงานในโรงงาน ที่ใช้เวลาในการจัดการซัพพลายเชนค่อนข้างมาก” ทั้งนี้การจัดการซัพพลายเชนอาจมีกระบวนการที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน หากไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ อาจสามารถขัดขวางกระบวนการทำงาน และส่งผลให้เกิดความล่าช้าต่อด้านคุณภาพ รวมไปถึงการเกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น นำมาซึ่งการสูญเสียผลกำไรของบริษัท

เมื่อธุรกิจการผลิตขยายใหญ่ขึ้น การจัดการซัพพลายเชนจะกลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น ซอฟต์แวร์ ERP หรือ Enterprise Resource Planning จึงเป็นหัวใจสำคัญและสามารถช่วยให้ธุรกิจลดความซับซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดการซัพพลายเชน เพื่อผลลัพธ์ที่ราบรื่นและสร้างผลกำไรมากขึ้นในอนาคต

บทบาทของระบบ ERP ในการจัดการซัพพลายเชน

ในความเป็นจริงแล้ว เราอาจไม่สามารถระบุบทบาทหลักของ ERP ในการจัดการซัพพลายเชนได้มากเพียงพอ แต่อย่างไรก็ดี ซอฟต์แวร์ ERP ถือเป็นตัวช่วยที่สำคัญมากต่อการดำเนินธุรกิจและการจัดการกลยุทธ์ต่างๆ ที่สอดคล้องต่อการเติบโตของบริษัท และนำไปสู่การที่จะประสบความสำเร็จ

โดย QAD มีความเชี่ยวชาญด้านระบบการจัดการซัพพลายเชน ที่รวมการดำเนินงานของซัพพลายเชนไว้ภายใต้แดชบอร์ดเดียว ทำให้ผู้ผลิตสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญ เพื่อช่วยให้   การประสานงานกับซัพพลายเออร์และผู้ขายที่คล่องตัวยิ่งขึ้น ซึ่งซอฟต์แวร์ ERP สำหรับการผลิตยังช่วยให้กระบวนการซัพพลายเชนเป็นไปโดยอัตโนมัติ เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ประโยชน์ของการใช้ ERP ในกลยุทธ์การจัดการซัพพลายเชน

การนำซอฟต์แวร์ ERP มาใช้กับกลยุทธ์การจัดการซัพพลายเชนในองค์กร นอกจากช่วยให้ผู้ผลิตเข้าถึงข้อมูลต่างๆ แบบเรียลไทม์แล้ว ยังมีประโยชน์ต่อประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่สามารถนำไปสู่การเติบโตของธุรกิจได้อย่างแม่นยำ พร้อมตัวชี้วัดที่ตรวจสอบได้ ได้แก่:

1. การจัดการอุปสงค์และการจัดซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient Managing Demand & Procurement)

ERP ทำให้การวางแผนความต้องการเป็นไปโดยอัตโนมัติ เช่น เมื่อได้รับคำสั่งซื้อ ซอฟต์แวร์จะดำเนินการ สร้างข้อมูล ตั้งเวลา เพื่อให้สมาชิกในทีมสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันที และสามารถวางแผนการผลิต ส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การจัดการทรัพยากรของคลังสินค้า การขนส่งวัสดุ และงานด้านซัพพลายเชนอื่นๆ ยังสามารถทำได้โดยอัตโนมัติหรือปรับให้เหมาะสมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเช่นกัน

2. การประมวลผลข้อมูลที่เชื่อถือได้ (Reliable Processing & Documentation)

ระบบ ERP สามารถสร้างใบแจ้งหนี้ ที่ส่งตรงถึงลูกค้าเมื่อสินค้าได้จัดส่งเรียบร้อยแล้ว หรือสร้างและส่งเอกสารการนำเข้าและส่งออกที่จำเป็นสำหรับการจัดส่งระหว่างประเทศ ซึ่งกระบวนการนี้ช่วยลดข้อผิดพลาด (Human error) และรับประกันการส่งมอบตรงเวลา เพื่อการบริการลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น

3. การพัฒนาการทำงานร่วมกัน (Enhanced Collaboration)

กระบวนการจัดการ ERP และซัพพลายเชนมีประโยชน์อย่างยิ่งในการประสานงานระหว่างธุรกิจและผู้ขาย เมื่อซัพพลายเออร์เชื่อมต่อกับระบบ ERP ของคุณ พวกเขาสามารถทำงานร่วมกับคุณอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งช่วยให้บริษัทบรรลุเป้าหมายและลดปัญหาคอขวด เช่น เมื่อสินค้าในคลังเหลือจำนวนน้อย ผู้ผลิตจะได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้า ซึ่งช่วยรับประกันความพร้อมของทรัพยากรมากขึ้นกว่าเดิม

4. เพิ่มการมองเห็น (Increased Visibility)

ด้วยการเข้าถึงข้อมูลที่โปร่งใสมากขึ้น ธุรกิจสามารถสร้างกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดเพื่อจัดการทรัพยากรในองค์กร ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบไปจนถึงการบริหารบุคลากร โดยซอฟต์แวร์ ERP สามารถทำให้ทีมของคุณมีข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานแบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ผู้บริหารยังสามารถเห็นได้ว่า มีสิ่งใดในกระบวนการผลิตขัดข้อง หรือสิ่งใดที่เป็นไปได้อย่างราบรื่นมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้

5. ความสามารถของคลาวด์ (Cloud Capabilities)

แม้ว่าระบบ ERP จะพร้อมใช้งานเป็นโซลูชันภายในองค์กร แต่ซอฟต์แวร์ ERP บนระบบคลาวด์ก็เพิ่งจะได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยประโยชน์หลักของ Cloud ERP คือการรักษาความปลอดภัยและเพิ่มความคล่องตัวของข้อมูลโดยเฉพาะ การใช้โซลูชัน ERP ที่โฮสต์บนคลาวด์หมายความว่า ระบบสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาบนทุกอุปกรณ์มือถือเมื่อมีการเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้ผลิตก้าวอย่างรวดเร็วและเป็นประโยชน์ต่อซัพพลายเชนในอนาคต

ERP พัฒนาการจัดการซัพพลายเชนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร

นอกเหนือจากการคาดการณ์ การวางแผน และการทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ERP ยังเป็นเครื่องมือในประสิทธิภาพของซัพพลายเชนในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการหยุดชะงักของธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งที่แทบทุกอุตสาหกรรมไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และหากเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ERP ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้องค์กรมีความพร้อมรับมือได้อย่างรวดเร็ว

การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ได้แสดงให้เห็นว่า การเตรียมตัวและการตอบสนองอย่างเหมาะสมนั้นจำเป็นต่อการช่วยให้ธุรกิจก้าวต่อไปได้อย่างไร ทั้งนี้ผู้ผลิตหลายรายในปัจจุบันกำลังปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการจัดการ และเพิ่มความสามารถด้านซัพพลายเชน การจัดการความเสี่ยง จัดการกับความรวดเร็วในการดำเนินงาน ความยืดหยุ่นของระบบ และพัฒนาเครือข่ายซัพพลายเชนที่เชื่อมต่อกันมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า การเข้าถึงข้อมูลโดยรวมของบริษัท การตัดสินใจที่รวดเร็วขึ้น การตอบสนองอย่างรวดเร็ว และการปรับปรุงประสิทธิภาพอื่นๆ ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นในการเสริมสร้างการดำเนินงานของซัพพลายเชนและรับมือเมื่อเกิดการหยุดชะงักของธุรกิจได้อย่างทันท่วงที

โซลูชัน QAD ERP และการจัดการซัพพลายเชน

QAD ได้พัฒนาโซลูชัน ERP ที่ช่วยให้ซัพพลายเชนที่เชื่อมต่อกัน (Connected supply chain) และการจัดการซัพพลายเออร์แบบบูรณาการ (Integrated supplier management) อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งโซลูชันเหล่านี้ยังช่วยให้ธุรกิจปรับปรุงการดำเนินงานต่างๆ และจัดการกับความท้าทายหลายแง่มุมที่มาพร้อมกับการจัดการซัพพลายเชนที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบการค้าข้ามพรมแดน การคาดการณ์ การดำเนินงานคลังสินค้า การจัดการพื้นที่ และงานที่สำคัญอื่นๆ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่โซลูชัน ERP แบบปรับตัวของ QAD สามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณจัดการการดำเนินงานด้านซัพพลายเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ QAD Adaptive ERP ได้ที่โทร. 02 202 9363 หรืออีเมล์ [email protected]

 

ผู้เขียน 

Kristin Poulton เป็นสมาชิกทีมการตลาดของ QAD มีหน้าที่รับผิดชอบในกรณีศึกษาของลูกค้าที่ QAD ให้การดูแลอยู่ รวมไปถึงดูแลเกี่ยวกับโซเชียลมีเดียและ คอนเทนต์ต่างๆ ในเว็บไซต์

แหล่งที่มา https://www.qad.com/blog/2021/09/the-role-of-erp-in-supply-chain-management